วันศุกร์ที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

สัปดาห์ที่ 16

วันพฤหัสบดี ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557


*เป็นสัปดาห์ของการสอบปลายภาค


สัปดาห์ที่15

วันพฤหัสบดี ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2557

อาจารย์สอนเรื่อง เด็กที่มีความบกพร่องในการเรียนรู้ (LD) ส่วนใหญ่มักมีปัญหาทางการเรียน ดังนี้

การดูแลให้ความช่วยเหลือ
การสร้างแรงทางบวก
รู้จักลักษณะของเด็กที่เป็นสัญญาณเตือน
งานแผนการจัดนำแฟ้มข้อมูลเกี่ยวกับการเรียนรู้ของเด็ก
สังเกตติดตามความสามารถ และการมีส่วนร่วมในชั้น
IEP

การรักษาด้วยยา


Ritalin มีใช้ในประเทศไทยเป็นส่วนใหญ่
Dexedrine ใช้ในต่างประเทศ
Cylert ใช้ในต่างประเทศ
หน่วยงานที่ให้ความช่วยเหลือ
สำนักงานบริหารการศึกษาพิเศษ (สคส)
โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์
ศูนย์การศึกษาพิเศษ (Early Intervention)
โรงเรียนเฉพาะความพิการ
สถาบันราชานุกูล


สรุปองค์ความรู้ที่ได้รับจากการดู DVO เรื่อง เรียนอย่างไรใช้ศูนย์การศึกษาพิเศษ เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับเด็กพิเศษ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ได้ดังนี้
พัฒนาการในการช่วยบำบัดและส่งเสริมสำหรับเด็กพิเศษ
1. การเคลื่อนไหวผ่านกิจกรรม เช่นการสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อมัดใหญ่และมัดเล็ก ร่วมทั้งการพัฒนาทักษะการพูด โดยการใช้ดนตรีเข้ามาช่วยในกิจกรรม
2. การใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กหรือสติปัญญา เช่น การตอบคำถามหลังจากการเล่านิทานจบ กิจกรรมการจำแนกของที่มีลักณะเหมือนกัน เป็นต้น
3. ทักษะการเข้าใจ ฝึกการออกเสียง เพื่อใช้ในการสื่อสาร โดยกิจกรรม อย่างเช่น พูดเกี่ยวกับสิ่งรอบตัวหรือการเรียกชื่อของตัวเอง
4. ทักษะการใช้ภาษา การฝึกการประสานการทำงานระหว่างมือกับตา รวมกับสื่อสารกับบุคคลอื่นได้
5. ทักษะการช่วยเหลือตนเอง เช่นการฝึกทำอาหาร ขนม การรีดเสื้อผ้า ซึ่งการฝึกประสบการณ์วิชาชีพเพื่อเป็นความรู้ในการใช้ประกอบอาชีพได้ เช่น
...โครงการที่ช่วยส่งเสริมและดูแลสำหรับเด็กพิเศษ
...โครงการแม่ลูกผูกพัน
...โครงการฝึกอาชีพ เด็กพิเศษสามารถช่วยเหลือและพึ่งตนเองได้

บรรยากาศในห้องเรียน

เพื่อนๆในห้องให้ความสนใจอาจารย์ผู้สอนเป็นอย่างดีแต่บางครั้งก็คุยกันในห้องจนบางคร้งอาจารย์ว่าเกล่าตักเตือน
สะท้อนความรู้
ความช่วยเหลื่อในเด็กปฐมวัย ควรเป็นการยื่นมือมาช่วยเหลือของหลายๆสาขาสถาบัน ไม่ใช่สถานที่ใดสสถานที่หนึ่ง หน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่ง เพราะการที่หยิบยื่นความหวังดีมาให้เด็กพิเศษ  ไม่เพียงแต่จะช่วยเด็กเท่านั้นแต่ยังช่วยพ่อแม่และผู้ปกครอง ให้ช่วยกันสนับสนุน ช่วยเหลือเด็กพิเศษอีกด้วย
การนำไปใช้
นำความรู้เรื่องเด็กพิเศษไปให้ความรู้กับผู้ปกครองหือผู้ที่สนใจได้เป็นอย่างดีและสามารถนำควมรู้ไปสังเกตพฤติกรรมของเด็ก ได้ สามารถนำไปศึกษาหาความรุ้เพิ่มเติมและยังสามารถช่วยเด็กที่มีอาการได้ทันท่วงทีอีกด้วย

สัปดาห์ที่14

วันพฤหัสบดีที่6กุมภาพันธ์  พ.ศ. 2557
บันทึกการเรียนครั้งที่14

*ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากอาจารย์ผู้สอนไปศึกษาดูงาน


สัปดาห์ที่13

วันพฤหัสบดีที่30 มกราคม พ.ศ.2557

บันทึกการเรียนครั้งที่  13

อาจารย์สอนเนื้อหา เรื่อง การดูแลและส่งเสริมพัฒนาการเด็กที่มีความต้องการพิเศษ

เด็กกลุ่ม (Down’s syndrome)
การดูแลและส่งเสริมพัฒนาการเด็กดาวน์ซินโดรม ดังนี้

1. ด้านสุขภาพอนามัย
บิดามารดาพาบุตรไปพบแพทย์ ตั้งแต่เริ่มแรก ติดตามการรักษาเป็นระยะๆ
2. การส่งเสริมพัฒนาการ
เด็กกลุ่มอาการดาวน์สามารถพัฒนาได้ ถ้าได้รับการฝึกสอนที่เหมาะสม
3. การดำรงชีวิตประจำวัน
ฝึกให้ช่วยเหลือตนเอง
4. การฟื้นฟูสมรรถภาพ
ทางการแพทย์ การฝึกพูด กายภาพบำบัด กิจกรรมบำบัด
ทางการศึกษา แผนการศึกษาเฉพาะบุคคล IEP
ทางสังคม การฝึกทักษะการดำรงชีวิต
ทางอาชีพ โดยการฝึกอาชีพ








ดาวน์ซินโดรม (Down’s syndrome)

เด็กดาวน์ หรือเด็กกลุ่มอาการดาวน์ซินโดรม เป็นเด็กที่มีภาวะปัญญาอ่อน ซึ่งมีสาเหตุมาจากพันธุกรรม เพราะความผิดปกติของโครโมโซม

โครโมโซม จะมีอยู่ในเซลร่างกายมนุษย์ แต่ละคนจะมีโครโมโซม 23 คู่ หรือ 46 แท่ง มีหน้าที่แสดงลักษณะของคนๆนั้นออกมา เช่น ผมสีดำ ตัวเตี้ย ตัวสูง เพศชาย เพศหญิง และถ่ายทอดลักษณะเหล่านั้นออกมาให้ลูกหลาน โดยจะได้จากบิดา 23 แท่ง มารดา 23 แท่ง

สาเหตุของการเกิดกลุ่มอาการดาวน์

สาเหตุของความผิดปกติของโครโมโซม ยังไม่ทราบแน่ชัด มีปรากฏในทุกเชื้อชาติ เด็กเกิดใหม่ 1,000ราย จะพบเด็กดาวน์ 1 ราย ความผิดปกติมี 3 ประเภทคือ
โครโมโซมคู่ที่ 21 เกินมา 1 แท่ง พบได้ร้อยละ 95 %
โครโมโซมคู่ที่ 14 มายึดติดกับคู่ที่ 21 พบได้ร้อยละ 4
มีโครโมโซม ทั้งปกติในคนเดียวกันได้พบได้ร้อยละ 1

ลักษณะของเด็กดาวน์
ลักษณะทั่วไป เด็กดาวน์ทุกคนจะมีลักษณะคล้ายคลึงกัน คือ ศีรษะเล็ก หน้าแบน สันจมูกแบน ตาเล็กเฉียงขึ้น หูเล็ก ช่องปากเล็ก เพดานปากสูง คอสั้น แขนขาสั้น มือแบนกว้าง นิ้วมือ นิ้วเท้าสั้น ฝ่าเท้าสั้น
ระบบกล้ามเนื้อ และกระดูก กล้ามเนื้ออ่อนนิ่ม ข้อต่อยืดได้มาก ทำให้มีพัฒนาการการเคลื่อนไหวช้า และฝ่าเท้าแบนราบ ในบางราบอาจมีข้อกระดูกเคลื่อน จึงจำเป็นต้องมีการออกกำลังกาย เพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ กระดูกเจริญเติบโตช้า ทำให้ตัวเล็กเตี้ย สันจมูกแบน ช่องปากเล็ก หูชั้นกลางอักเสบได้ง่าย มีความผิดปกติของกระดูกหูชั้นกลาง และชั้นใน ทำให้บางรายมีความบกพร่องทางการได้ยิน
ระบบผิวหนัง มีความยืดหยุ่นน้อย มีเลือดมาเลี้ยงน้อย ทำให้ผิวหนังแห้งแตกง่าย มีรอยจ้ำเป็นลาย และการรับรู้ทางประสาทสัมผัสมีน้อย ควรออกกำลังกายเพื่อช่วยให้เลือดมาเลี้ยงดีขึ้น
ระบบทางเดินอาหาร บางรายมีการอุดตันของลำไส้ และ/หรือ ไม่มีรูทวารตั้งแต่แรกเกิด บางรายอาจอาเจียนจนถึงอายุ 6 เดือน เนื่องจากกล้ามเนื้อหูรูดของกระเพาะอาหารไม่แข็งแรง เด็กส่วนมากมีปัญหาเร่องท้องอืด และท้องผูกได้ง่าย
ระบบหัวใจ และหลอดเลือด บางรายอาจมีโรคหัวใจพิการ แต่กำเนิดร่วมด้วย และมะเร็งในเม็ดเลือดขาวได้บ้าง
ระบบประสาท สมองมีขนาดเล็ก ทำให้มีการรับรู้ ความเข้าใจช้า สติปัญญาต่ำกว่าเด็กทั่วไปอาจมีปัญหาทางตา เช่น ตาเข สายตาสั้น ปัญหาการได้ยิน มีประสาทรับความรู้สึกต่างๆน้อยกว่าปกติ
ระบบหายใจ ติดเชื้อง่าย เนื่องจากภูมิต้านทานต่ำ และขับเสมหะไม่ดี
ระบบสืบพันธ์ อวัยวะเพศของผู้ชายอาจจะเล็กกว่าปกติ
ระบบต่อมไร้ท่อ ฮอร์โมนที่เกี่ยวกับการเจริญเติบโตของร่างกาย และสมอง (Growth Hormone ,Thyroid Hormone ) อาจมีน้อยกว่าปกติ
ลักษณะนิสัย และอารมณ์ วัยเด็กจะเชื่องช้า เมื่อโตขึ้นร่าเริงแจ่มใส การเลี้ยงดูที่เหมาะสม และการส่งเสริมพัฒนาการตั้งแต่แรกเกิด – 5 ปี จะมีผลต่อพฤติกรรมการปรับตัว และอารมณ์ของเด็กในทางที่ดีขึ้น อย่างเห็นได้ชัดเจน

ความช่วยเหลือที่เด็กดาวน์ควรได้รับ
วัยเด็ก เป็นวัยทองของชีวิต ทักษะต่างๆจะพัฒนาไปได้ถึงกว่า ร้อยละ 90 ในวัยนี้ เด็กควรได้รับการแก้ไขความพิการที่เป็นมาแต่กำเนิด การดูแลสุขภาพ การป้องกันโรค และการส่งเสริมพัฒนาการ เพื่อเตรียมพร้อมที่จะเข้าเรียน ซึ่งเป็นหน้าที่ของครอบครัว บุคลากรทางการศึกษา และสาธารณสุข
วัยเรียน เมื่อเด็กได้รับการเตรียมพร้อม โดยเฉพาะทางด้านร่าง และพัฒนาการแล้ว เด็กควรได้รับการศึกษาในโรงเรียนปกติใกล้บ้าน เพื่อให้ได้เรียนรู้ และปรับตัวให้เข้ากับชีวิตจริงในชุมชนของตนเอง ซึ่งเป็นหน้าที่ของครอบครัว และบุคลากรทางการศึกษา
วัยทำงาน หลังจากจบการศึกษาจากโรงเรียนแล้ว เด็กควรได้รับการฝึกอาชีพจากสถานที่ทำงานจริงในชุมชน หรือสถานฝึกอาชีพต่างๆต่อจากนั้น ชุมชนควรเปิดโอกาสให้เด็กเหล่านี้ได้ทำงาน งานที่ทำอาจเป็นงานที่ง่าย ไม่ซับซ้อน หรือใช้ทักษะไม่มากนัก ในปัจจุบันมีสถานประกอบการเอกชนหลายแห่ง เปิดโอกาสให้กับเด็กเหล่านี้ ได้ทำงาน และมีอาชีพที่เหมาะสม เมื่อโตเป็นผู้ใหญ่ เช่นเดียวกับคนทั่วไป

การดูแลเด็กดาวน์

สุขภาพอนามัย เด็กดาวน์ จะมีโรคที่เป็นมาแต่กำเนิด หรือมักจะเจ็บป่วยได้ง่ายกว่าเด็กทั่วไป ดังนั้นผู้ปกครอง จึงควรพาลูกไปปรึกษาแพทย์ ตั้งแต่แรกเริ่ม เพื่อแพทย์จะได้ค้นหา หรือให้การบำบัด รักษาได้ทันกาล รวมทั้งป้องกันโรค ที่อาจจะเกิดขึ้นได้

การส่งเสริมพัฒนาการ

เด็กดาวน์ สามารถพัฒนาได้ถ้าได้รับการฝึกสอนที่เหมาะสม ดังนั้นผู้ปกครอง จึงควรพาเด็กไปพบแพทย์หรือบุคลากรทางการแพทย์ เพื่อรับคำแนะนำ และวิธีการ ในการส่งเสริมพัฒนาการ เพื่อให้เด็กมีความพร้อม รวมทั้งนำกลับมาฝึกฝนที่บ้าน หรือในทุกโอกาสเท่าที่จะทำได้ เพื่อให้เด็กมีพัฒนาการใกล้เคียงกับเด็กปกติ

สัปดาห์ที่12

วันพฤหัสบดีที่ 23 มกราคม  พ.ศ.2556

บันทึกการเรียนครั้งที่12

อาจารย์ให้นำเสนองานต่อจากสัปดาห์ก่อน ซึ่งเพื่อนกลุ่มสุดท้ายได้นำเสนอเรื่องเด็กออทิสติก

เด็ก Austitim

ความหมายถึงเด็กที่ไม่สามารถมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น โรคนี้เป็นความผิดปกติในสมองซึ่งมีอาการแสดงและความผิดปกติได้หลายรูปแบบ เด็กจะไม่สามารถเข้าใจคำพูด ความรู้สึกและความต้องการของผู้อื่น การพัฒนาด้านภาษาและสติปัญญาก็ไม่สมบูรณ์ ทำให้เด็กไม่สามารถที่จะสื่อสารกับคนรอบข้างและสังคม เด็กทำบางสิ่งซ้ำๆ
อาการของเด็กบางคนจะแสดงออกตั้งแต่เกิดแต่ส่วนใหญ่จะแสดงออกเมื่อเด็กอายุ 18-36 เดือนเด็กจะไม่สนใจคนอื่น มีพฤติกรรมแปลกๆ สูญเสียความสามารถทางภาษาและทักษะ ผู้ปกครอง คุณครูรวมทั้งผู้ร่วมงาน ก็มีปัญหากับเด็กที่ไม่สนใจอย่างอื่นนอกจากพฤติกรรมที่ทำซ้ำซาก

Autism คืออะไร

โรค Autism เป็นความผิดปกติในสมอง เด็กที่เป็นจะมีปัญหาเรื่อง การสื่อสาร ความสัมพันธ์ กับคนรอบข้างและสิ่งแวดล้อม เด็กบางคนสามารถสื่อสารกับผู้อื่นและก็มีความฉลาด แต่เด็กบางคนเป็นเด็กปัญญาอ่อน ไม่พูด เด็กบางคนก็มีพฤติกรมทำซ้ำซาก จะเห็นว่าเด็กแต่ละคนมีอาการไม่เหมือนกัน ความรุนแรงไม่เท่ากัน แต่จะมีปัญหาทางสังคม การสื่อสาร พฤติกรรม กล้ามเนื้อและความรู้สึก
เด็กที่เป็น Autismเด็กปกติ
การสื่อสาร
  • ไม่มองตา
  • เหมือนคนหูหนวก
  • เคยพูดได้ต่อมาหยุดพูด
  • ดูหน้าแม่
  • หันไปตามเสียง
  • เรียนรู้คำพูดเพิ่มเติม
ความสัมพันธ์กับคนรอบข้าง
  • เด็กจะไม่สนใจคนรอบข้าง
  • ทำร้ายคนโดยไม่มีสาเหตุ
  • จำคนไม่ได้
  • เด็กจะร้องเมื่อออกจากห้อง หรือมีคนแปลกหน้าเข้าใกล้
  • ร้องเมื่อหิวหรือหงุดหงิด
  • จำหน้าแม่ได้
ความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม
  • นั่งเล่นอย่างใดอย่างหนึ่ง
  • มีพฤติกรมแปลกๆเช่นนั่งโบกมือ
  • ดมหรือเลียตุ๊กตา
  • ไม่รู้สึกเจ็บปวด ชอบทำร้ายตัวเอง
  • เปลี่ยนของเล่น
  • การเคลื่อนไหวเป็นไปอย่างมีจุดมุ่งหมาย เช่นการหยิบของ
  • สำรวจและเล่นตุ๊กตา
  • ชอบความสุขและกลัวความเจ็บ

ปัญหาด้านภาษา

เด็กปกติแรกคลอกจะมีการพูดแบบเด็กๆคืออ้อแอ้ไม่เป็นภาษา เมื่อโตขึ้นก็จะหัดพูดเป็นคำๆ  หันหน้าไปตามเสียงเรียกชื่อ ชี้สิ่งที่ตัวเองต้องการ เมื่อโตขึ้นเด็กก็จะพูดประโยคสั้นๆได้ ทำตามคำสั่งง่ายๆได้
เด็กที่เป็น autism ภายใน 6 เดือนแรกก็จะพูดอ้อแอ้หลังจากนั้นจะหยุดพูด บางคนจะหยุดพูดตลอดไป การสื่อสารจะใช้สัญลักษณ์ เด็กบางคนเริ่มหัดพูดเมื่ออายุ 5-8 ปี เด็กบางคนจะพูดเป็นคำๆ เด็กไม่สามารถผสมคำได้อย่างมีความหมาย เด็กบางคนเลียนแบบคำพูดของคนอื่นหรือจำจากทีวี การพูดซ้ำมักจะพบได้เด็กอายุน้อยกว่า 3 ปี เด็ก autism เด็กอาจจะพูดใช้ความหมายผิดเช่นอยากออกนอกบ้านแต่เด็กใช้คำว่าขึ้นรถแทนคำว่าออกไปข้างนอก เด็กจะไม่เข้าใจความหมายของคำว่าฉัน ของฉัน เธอ เช่น คุณชื่ออะไร เด็กจะตอบว่าคุณชื่อนนท์(ชื่อของเด็ก)
การแสดงความรู้สึกบนใบหน้าก็เป็นปัญหาสำหรับเด็ก autism จะไม่สามารถแสดงสีหน้าหรือท่าทางเพื่อแสดงดีใจ เสียใจ โกรธ น้ำเสียงก็ไม่มีสูงหรือต่ำเสียงเหมือนหุ่นยนต์ เนื่องจากเด็กไม่สามารถใช้ภาษาแสดงว่าต้องการอะไร เด็กจะใช้วิธีร้องหรือแย่งของแทนที่จะขอ

พฤติกรมที่ทำซ้ำๆ

เด็ก autism จะมีร่างกายปกติแต่มักจะมีพฤติกรรมที่ทำซ้ำๆทำให้ไม่สามารถเล่นกับเด็กคนอื่น
  • เด็กอาจจะนั่งเคาะโต๊ะ หรือโบกมืออยู่เป็นชั่วโมง
  • เด็กนั่งโยกหน้าโยกหลังเป็นเวลานาน
  • เด็กอาจจะมีพฤติกรรมที่ซ้ำๆ เช่นวิ่งเข้าห้องนี้ไปห้องโนน
  • เด็กอาจจะคว้ามือคนอื่นให้ดูนาฬิกาตัวเองอยู่ตลอดเวลา หรืออาจะเอาอุจาระออกจากห้องน้ำเข้าห้องเรียน
  • เด็กจะไม่ยอมให้เปลี่ยนสิ่งแวดล้อมเช่น นั่งโต๊ะตัวเดียง กินอาหารเวลาเดียวกัน เด็กจะโกรธมากหากสิ่งแวดล้อมเปลี่ยนไป เช่นตำแหน่งของช้อน เก้าอี้ รูปภาพ
  • เด็กเล็กจะมีจิตนาการ เช่นสมมุติตัวเองเป็นแม่ หรือแม่ค้า เอาชามใส่แทนหมวก แต่เด็กที่เป็น autism จะไม่มีจินตนาการเช่นนี้

ปัญหาเกี่ยวกับการรับรู้

เด็กปกติจะมีการรับรู้สิ่งแวดล้อมจากสัมผัสทั้ง 5 และสมองก็สามารถที่จะแปลผลนั้นได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม แต่เด็กautism จะมีปัญหาเรื่องการรับรู้จากสัมผัสทั้ง 5ทำให้เด็กสับสน เด็กอาจจะรู้สึกเจ็บปวดเมื่อต้องสัมผัสบางอย่างเช่น  รูป  รส กลิ่น เสียง เด็กบางคนเมื่อใส่เสื้อผ้าจะทำให้เด็กไม่มีสมาธิทำอย่างอื่น เด็กบางคนจะรู้สึกอึกอัดเมื่อถูกกอด เด็กบางคนอาจจะกรีดร้องเมื่อได้ยินเสียงเครื่องบิน เสียงโทรศัพท์หรือเสียงอื่นๆ
เด็กบางคนจะไม่รู้ร้อนรู้หนาว ไม่รู้สึกเจ็บปวดเด็กอาจจะหกล้มกระดูกหักแต่ไม่ร้องเลย หรืออาจจะเอาหัวโขกกำแพงโดยที่ไม่ร้อง

ความสามารถพิเศษ

เด็ก autism บางคนมีความสามารถพิเศษหลายอย่างเช่น การวาดรูป ความจำ การเล่นดนตรี การอ่านหนังสือ
การพัฒนาของเด็กปกติ
การที่จะรู้ว่าเด็กมีพฤติกรรมผิดปกติต้องรู้พฤติกรรมปกติของเด็ก

การวินิจฉัย

ปัจจุบันยังไม่การตรวจด้วยการเจาะเลือดหรือการ x-ray เพื่อวินิจฉัยโรคออทิสติก ผู้ป่วยออทิสติกแต่ละคนก็แสดงอาการไม่เหมือนกัน นอกจากนั้นอาการหลายอย่างที่พบในโรคอื่น ดังนั้นพ่อแม่ ครูและแพทย์จะต้องร่วมมือในการวินิจฉัยแยกโรค เช่นหูหนวก ปัญญาอ่อน มีปัญหาในการพูด และโรคทางสมอง หากไม่มีโรคดังกล่าวจึงส่งไปพบแพทย์ที่เชี่ยวชาญทาง autism เกณฑ์การวินิจฉัยโรค autism
  • มีปัญหาเรื่องความสัมพันธ์กับสังคม
  • มีปัญหาเรื่องการสื่อสารหรือภาษา
  • มีพฤติกรรมที่ทำซ้ำๆ
เด็กที่เป็น autism มักจะมีปัญหาอย่างใดอย่างหนึ่ง บางอาการเป็นมาก บางอาการเป็นน้อยและอาการต้องเกิดที่อายุ 3 ขวบ

สาเหตุของ Autism

สมองของคนเราเริ่มสร้างและพัฒนาตั้งแต่เริ่มปฏิสนธิจนกระทั่งเกิด โดยแต่ละส่วนของสมองจะมีเซลล์ประสาท neuron ที่ทำหน้าที่พิเศษไปฝังตัว หลังจากนั้นเซลล์เหล่านี้จะแบ่งตัวมากขึ้น และมีใยประสาท fibers เป็นตัวเชื่อมเซลล์ประสาท สมองจะสั่งงานโดยการหลังสาร neurotransmitters ที่รอยต่อของเซลล์ประสาท
  • สมองส่วนหน้า frontal lobe จะทำหน้าที่แก้ปัญหา การวางแผน การเข้าใจพฤติกรรมของผู้อื่น
  • สมองส่วนข้าง parietal lobe ทำหน้าที่การได้ยิน การพูด การสื่อสาร
  • สมองน้อย cerebellum ทำหน้าที่การทรงตัว การเคลื่อนไหวของร่างกาย
  • สมองส่วน corpus callossum เป็นตัวเชื่อมสมองทั้งสองข้าง
หลังจากที่เด็กเกิดสมองยังมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องสาเหตุที่อาจจะเป็นไปได้คือ
  • การที่เซลล์ประสาทไปอยู่ผิดที่ ทำให้การทำงานของสมองผิดปกติ
  • การหลั่ง neurotransmitters ผิดปกติ

ปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาของสมอง

  • พันธุกรรม พบว่าฝาแผดไข่ใบเดียวกัน หากมีคนหนึ่งเป็นอีกคนหนึ่งจะมีโอกาสสูง หากมีพี่นอนคนหนึ่งเป็นน้องก็มีความเสี่ยงสูง
  • ขณะตั้งครรภ์ ขณะเป็นตัวอ่อนในครรภ์สมองเด็กจะมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ดังนั้นหากมีสิ่งมากระทบสมองเด็กโดยเฉพาะ 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ตัวอย่างภาวะดังกล่าวได้แก่ การติดเชื้อไวรัสหัดเยอรมัน การขาด oxygen ขณะคลอด

โรคที่พบร่วมกับ Autism

  • ปัญญาอ่อน Mental retard ประมาณร้อยละ 75-80 ของเด็กจะมีลักษณะปัญญาอ่อนไม่มากก็น้อย ร้อยละ 15-20จะปัญญาอ่อนค่อนข้างมาก โดยมีIQ น้อยกว่า 35 จะมีอยู่ประมาณร้อยละ 10ที่มีระดับ IQ ปกติ
  • โรคลมชัก Seizure ประมาณ1ใน3จะมีการชัก

ยาที่ใช้รักษาโรค Autism

ยังไม่มียาที่จะไปเปลี่ยนเซลล์ neuron หรือการทำงานของสมอง และยังไม่มียาที่ได้รับการขึ้นทะเบียนว่าเป็นยารักษาautism ยาที่ใช้รักษาเป็นยาโรคอื่นที่มีอาการใกล้เคียง
  • เนื่องจากผู้ป่วยจะมีความวิตกกังวลและซึมเศร้าการใช้ยาต้านโทมนัส เช่น fluoxetine (Prozac™), fluvoxamine (Luvox™), sertraline (Zoloft™), และ clomipramine (Anafranil™) สามารถลดอาการก้าวร้าวของผู้ป่วย
  • เด็ก autism บางคนเป็นโรคสมาธิสั้นร่วมด้วยการให้ยา Ritalin ก็สามารถให้ผลดี
  • Chlorpromazine, theoridazine, และ haloperidol เป็นยาที่รักษาผู้ป่วยจิตเวชก็สามารถลดอาการพฤติกรรมทำซ้ำๆ ลดการกระวนกระวาย
  • วิตามิน บี 6 มีรายงานว่าทำให้การทำสมองทำงานได้ดีขึ้นแต่ยังอยู่ระหว่างการทดลอง
การเข้าสังคมและพฤติกรรม
ได้มีการพัฒนาวิธีการรักษาหลายอย่างโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มทักษะในการเข้าสังคมเพื่อทดแทนพฤติกรรมที่เบี่ยงเบียน และสร้างสิ่งแวดล้อมให้เกิดการเรียนรู้ตามความต้องการเรียนรู้ของเด็ก การเรียนการสอนต้องมีขั้นตอนง่ายๆที่ละขั้น และต้องจูงใจเด็กให้สนใจและที่สำคัญต้องมีส่วนในการปรับพฤติกรรมของเด็ก ในการกำหนดเรื่องที่จะต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของเด็ก ครู ผู้ปกครองและผู้รักษาต้องปรึกษากัน และที่สำคัญพ่อแม่เป็นครูที่ใกล้ชิดและเป็นครูคนแรกของเด็ก ดังนั้นต้องมีการฝึกทักษะของพ่อแม่ในการฝึกสอนเด็ก

การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

โดยอาศัยหลักว่าเมื่อทำถูกต้องหรือทำดีต้องให้รางวัล เมื่อเด็กได้สามารถพัฒนาทักษะใหม่ต้องให้รางวัลแก่เด็ก เด็กก็จะทำสิ่งนั้นซ้ำจนเกิดความชำนาญ เช่นเมื่อเด็กเริ่มมองหน้าพ่อแม่หรือครูก็จะให้รางวัล วิธีการฝึกเช่นให้เด็กนั่งเก้าอี้ ถ้าเด็กไม่นั่งก็จับเด็กนั่งแล้วรีบให้รางวัล อาจจะเป็นขนมหรือคำชมที่เด็กชอบ ทำซ้ำๆกันจนเด็กสามารถทำตามคำสั่งได้และนั่งนานพอควรจึงเปลี่ยนไปบทอื่น การใช้วิธีนี้จะได้ผลดีเมื่อทำตอนเด็กอายุน้อยๆ

การเลือกโครงการรักษา

เด็กแต่ละคนจะรักษาไม่เหมือนกัน การรักษาต้องขึ้นกับเด็กแต่ละคน การเลือกสถานที่รักษา ผู้ปกครองต้องพิจารณาปัจจัยต่อไปนี้
  • โครงการรักษานี้เคยใช้กับเด็กอื่นบ้างหรือไม่
  • เด็กที่เข้าโครงการออกไปสู่โรงเรียนปกติกี่คน
  • พนักงานมีประสบการณ์หรือรับการอบรมมาหรือไม่
  • มีแผนงานอะไรบ้าง
  • มีโครงการพิเศษและโครงงานประจำวันอะไรบ้าง
  • มีเจ้าหน้าที่มากน้อยแค่ไหน
  • มีการบันทึกความก้าวหน้าอย่างไร มีดัชนี้ชี้วัดถึงความสำเร็จอย่างไร
  • เมื่อเด็กทำดีมีการให้รางวัลหรือไม่
  • สิ่งแวดล้อมปลอดภัยสำหรับเด็กหรือไม่
  • มีการเตรียมผู้ปกครองไว้ดูแลเด็กที่บ้านหรือไม่
บรรยากาศในห้องเรียน

เพื่อนๆในห้องให้ความสนใจอาจารย์ผู้สอนเป็นอย่างดีแต่มีเพื่อนบางคนคุยในเวลาเรียนบ้าง

สะท้อนความรู้
เด็กออทิสติกเป็นเด็กที่ มีความผิดปกติในสมอง เด็กที่เป็นจะมีปัญหาเรื่อง การสื่อสาร ความสัมพันธ์ กับคนรอบข้างและสิ่งแวดล้อม เด็กบางคนสามารถสื่อสารกับผู้อื่นและก็มีความฉลาด แต่เด็กบางคนเป็นเด็กปัญญาอ่อน ไม่พูด เด็กบางคนก็มีพฤติกรมทำซ้ำซาก จะเห็นว่าเด็กแต่ละคนมีอาการไม่เหมือนกัน ความรุนแรงไม่เท่ากัน แต่จะมีปัญหาทางสังคม การสื่อสาร พฤติกรรม กล้ามเนื้อและความรู้สึก

การนำไปใช้
นำความรู้เรื่องเด็กพิเศษไปให้ความรู้กับผู้ปกครองหือผู้ที่สนใจได้เป็นอย่างดีและสามารถนำควมรู้ไปสังเกตพฤติกรรมของเด็ก ได้ สามารถนำไปศึกษาหาความรุ้เพิ่มเติมและยังสามารถช่วยเด็กที่มีอาการได้ทันท่วงทีอีกด้วย

สัปดาห์ที่11

วันพฤหัสบดีที่ 15 มกราคม  พ.ศ.2557

บันทึกการเรียนการสอน
*ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากน เนื่องจากเกิดเหตุการณ์บ้านเมืองทำให้นักศึกษาหลายๆคนมีปัญหาเรื่องการเดินทาง จึงไม่สามารถมีการเรียนการสอนได้ตามปกติ

อาจารย์ได้มอบหมายงานให้นักศึกษาได้รับผิดชอบเป็นรายบุคคลดังนี้
สรุปงานวิจัยที่หามาใส่กระดาษA4 ตามหัวข้อนี้ (กำหนดส่งภายในวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2557)*
1.ชื่องานวิจัย/ชื่อผู้วิจัย/มหาวิทยาลัย
2.ความสำคัญและความเป็นมาของงานวิจัย
3.วัตถุประสงค์ของการวิจัย
4.ตัวแปรที่ใช้ในการวิจัย
5.นิยามศัพท์เฉพาะ
6.ประชากร/กลุ่มตัวอย่าง
7.เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
8.การดำเนินการวิจัย
9.สรุปผลการวิจัย
10.ความคิดเห็นของนักศึกษาที่มีต่องานวิจัยชิ้นนี้

สัปดาห์ที่10

วันพฤหัสบดีที่  9  มกราคม พ.ศ.2557
บันทึกการเรียนครั้งที่ 10

การเรียนการสอน
อาจารย์ให้นักศึกษานำเสนองานกลุ่ม ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับกลุ่มเด็กที่มีความบกพร่องในด้านต่างๆ ดังนี้

กลุ่มที่ 1 นำเสนองานเรื่อง ภาวะการเรียนบกพร่อง (LD)
กลุ่มที่ 2 นำเสนองานเรื่องเด็กพิการทางสมอง (CP)
กลุ่มที่ 3 นำเสนองานเรื่องเด็กที่มีความต้องการพิเศษ (สมาธิสั้น)
กลุ่มที่ 4 นำเสนองานเรื่องดาว์นซินโดรม

อาจารย์สอนเนื้อหาต่อจากสัปดาห์ก่อน มีเนื้อหาดังนี้

แนวทางในการดูแลรักษา

หาสาเหตุที่ทำให้เกิดความบกพร่องทางพัฒนาการ
การตรวจค้นหาความผิดปกติร่วม
การรักษาสาเหตุโดยตรง
การส่งเสริมพัฒนาการ
ให้คำปรึกษากับครอบครัวในการหาแหล่งความรู้เพิ่มเติมต่างๆ

ขั้นตอนในการดูแลเด็กที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการ

การตรวจคัดกรองพัฒนาการ
การตรวจประเมินพัฒนาการ
การให้บริการวินิจฉัยและหาสาเหตุ
การให้การศึกษาและส่งเสริมพัฒนาการ
การติดตามและประเมินผลการรักษาเป็นระยะ